เข้าสู่ช่วงสิ้นสุดไตรมาสแรกของปี 2010 นี้แล้ว ทางบริษัทต่างๆ ก็เริ่มทยอยเข็นเทคโนโลยีใหม่ๆ กันออกมาเป็นแถว ซึ่งก็ล้วนแต่เป็นที่น่าจับตามองกันทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นทางฝั่ง Apple ก็จวนเจียนออก iPad โดยเป็นที่น่าจับตามองมากว่ามันจะสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอะไรในชีวิตประจำวันได้บ้าง แต่สำหรับทางฝั่งพีซีแล้ว วันนี้ วันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2010 บริษัท Intel กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าเทคโนโลยีการประมวลผลของโลกเสียใหม่ด้วยการปล่อยซีพียูแบบ 6 แกนสำหรับเดสก์ท้อปตัวแรกของโลกที่เร็วที่สุดภายใต้ชื่อ Intel Core i7-980X Extreme Edition
ในตอนที่ทาง Intel ส่งกล่องซีพียูตัวดังกล่าวมากองอยู่บนโต๊ะทำงานนั้น ผมแทบจะระงับความตื่นเต้นไว้ไม่อยู่ เพราะว่าถ้าท่านผู้อ่านท่านใดได้อ่านบทความปอกเปลือกทิศทางซีพียูของปีนี้และปีหน้าของผมแล้วก็น่าจะพอทราบว่าภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2010 นี้ ทั้ง Intel และ AMD กำลังจ้องจะออกซีพียูแบบ 6 แกนสำหรับผู้บริโภคมาแข่งกันดูดเงินในกระเป๋าของเรา ยิ่งเมื่อช่วงเดือนสองเดือนก่อนหน้านี้ได้มีข่าวแว่วๆ ออกมาแล้วว่า Intel กำลังเตรียมตัวออกวางจำหน่ายซีพียูแบบ 6 แกนภายใต้ชื่อ Core i7-980X ยิ่งเลยทำให้ขาฮาร์ดแวร์กระเป๋าหนักทั้งหลายนับวันนับคืนรอวันที่ซีพียูตัวนี้จะวางจำหน่าย และในขณะนี้ผม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน i3 ได้รับซีพียูตัวนี้แบบเป็นๆ มาทดสอบความแรงกันแล้ว แต่ก่อนที่ผมจะนำพาท่านผู้อ่านไปพบกับผลการทดสอบซีพียูตัวดังกล่าว ผมขอแนะนำให้รู้จักกับคุณสมบัติคร่าวๆ ของซีพียูตัวนี้กันก่อนครับ
Features & Benefit
จากภาพด้านบนสุดนั้น ใครก็ตามที่ได้อ่านบทความทิศทางซีพียูไปแล้วก็คงจะพอคุ้นกับกลยุทธ์ Tick-Tock ของทาง Intel ซึ่งจะว่าไปมันก็เปรียบเหมือนกับแผนการวางจำหน่ายซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของทางบริษัทนั่นเอง โดย Tick นั้นจะเป็นการลดขนาดกระบวนการผลิตของสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมลง (Westmere เป็น Tick ตัวล่าสุด) ส่วน Tock นั้นจะเป็นการใช้สถาปัตยกรรมซีพียูตัวใหม่ (Nehalem เป็น Tock ตัวล่าสุด) ซึ่งจุดเด่นที่สุดของเจ้า Westmere นั้นเห็นทีจะเป็นการลดขนาดกระบวนการผลิตจาก 45 มาเป็น 32 นาโนเมตร ซึ่งหลายๆ ท่านที่ติดตามข่าวของซีพียูอยู่เป็นประจำคงจะร้องอ๋อเมื่อเจอชื่อนี้ เพราะเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทาง Intel ได้ออกซีพียูที่มีชื่อรหัสในการพัฒนาว่า Clarkdale (Core i5-6xx และ Core-i3) สำหรับเดสก์ท้อป และ Arrandale (Core i7-6xxM, i5M และ i3M) สำหรับโน้ตบุ๊กมาแล้ว ซึ่งทั้งคู่เป็นซีพียูชุดแรกที่ใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร และมีกราฟฟิกชิพประกบติดคู่อยู่บนแพคเกจเดียวกันกับซีพียูเลย แต่ทั้งคู่จัดเป็นซีพียูสำหรับผู้ใช้งานระดับล่างเท่านั้น เนื่องจากทั้งหมดเป็นซีพียูแบบ 2 แกน/4 เธรดที่จะมาแทนที่ตระกูล Core 2 Duo เดิม สำหรับตลาดระดับบนสุด Intel ยังคงให้ตระกูล Core i7-9xx เป็นหัวเรือใหญ่ที่นำหน้าด้านความแรง (และราคา) อยู่ ซึ่งทั้งหมดใช้สถาปัตยกรรม Nehalem และใช้กระบวนการผลิต 45 นาโนเมตร แต่ซีพียูที่ผมได้รับมาทดสอบในวันนี้ภายใต้ชื่อ Core i7-980X นั้นนอกจากจะมีจำนวนแกนทั้งหมด 6 แกน/12 เธรดแล้วยังมีการลดขนาดกระบวนการผลิตมาเป็น 32 นาโนเมตรอีกด้วย แต่ยังคงไม่มีกราฟฟิกชิพมาให้ในตัว ซึ่งจากคุณลักษณะดังกล่าวคงจะพอเดากันได้ว่ามันจะเป็นซีพียูสำหรับเดสก์ท้อปที่เร็วที่สุดแล้ว ณ วันนี้
ภาพบนเป็นผังโครงสร้างภายใน die ของ Core i7-980X ที่มีชื่อรหัสในการพัฒนาว่า Gulftown โดยจะสังเกตเห็นได้ง่ายๆ เลยว่าเจ้านี้เป็นซีพียูในตระกูล Core i7 ตัวแรกที่มีการใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร พร้อมเทคโนโลยี High-k + Metal Gate และมีจำนวนแกนของซีพียูมากถึง 6 แกน/12 เธรด นอกจากนั้นยังมีแคชระดับสามมาให้ถึง 12 MB โดยแชร์ตลอดกันทั้ง 6 แกน เป็นผลให้แต่ละแกนมีแคชระดับสามทั้งหมด 2 MB นอกจากนั้นยังมีจำนวนทรานซิสเตอร์ที่มากถึง 1.17 พันล้านตัวด้วยกัน ในขณะที่รุ่นรองลงมาคือ Core i7-975 นั้นมีเพียง 731 ล้านตัว สำหรับเทคโนโลยีในส่วนที่เหลือนั้นก็ยังรับช่วงต่อมาจากสถาปัตยกรรม Nehalem มาอย่างครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น Quick Path Interconnect (QPI) ซึ่งมาแทนที่ Front Side Bus (FSB) ที่ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป เนื่องจาก Intel ได้รวมเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำและระบบการเชื่อมต่อ I/O (เช่นแรมและชิพเซ็ต) เข้าไว้ในตัวซีพียูเลย ซึ่งเจ้า QPI นั้นสามารถทำงานได้เร็วกว่า FSB แบบเดิมเป็นอย่างมาก สำหรับในส่วนของตัวควบคุมหน่วยความจำที่ถูกรวมไว้ใน die เดียวกับซีพียูเลยนั้นยังคงรองรับหน่วยความจำแบบ DDR3 Tripple Channel เหมือนเดิม และได้ที่ความเร็วสูงสุด 1066 MHz และจากการที่ทาง Intel ไม่ได้ใช้ FSB อีกต่อไปแล้วนั้นก็ทำให้ปัญหาคอขวดของการเข้าถึงหน่วยความจำนั้นลดลงไปมาก
สองภาพบนนั้นเป็นตารางสรุปความสามารถคร่าวๆ ของซีพียูตัวนี้ ซึ่งโดยหลักๆ แล้วความสามารถของมันนั้นก็ยังเหมือนๆ กับตัว Core i7 Bloomfield (Core i7-9xx) ตัวอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเซ็ต X58 เดิมที่มีอยู่แล้วได้ เพราะใช้ซ็อกเก็ต 1366 เหมือนกัน แต่อาจต้องมีการอัพเดต BIOS เพื่อให้รองรับซีพียูตัวนี้ได้ รองรับหน่วยความจำแบบ DDR3 Tripple Channel ที่ความเร็ว 1066 MHz รวมทั้งเทคโนโลยี Turbo Boost และ Hyper-Threading มีชุดคำสั่ง SSE ตัวใหม่ ที่เห็นแตกต่างนั้นก็คงจะเป็นการเปลี่ยนมาใช้กระบวนการผลิต 32 นาโนเมตร จำนวนแกน/เธรด รวมทั้งแคชระดับสามที่มากกว่า และชุดคำสั่ง AES-NI ตัวใหม่ 12 คำสั่งครับ
สำหรับท่านที่เริ่มงงงวยกับจำนวนซีพียูสาย Core i7 ที่ออกมามากมาย ผมมีตารางคร่าวๆ ของซีพียูสายดังกล่าวมาให้ชมกันครับ โดยจะเห็นได้ว่า Core i7-980X นั้นจะเป็นรุ่นที่สูงที่สุดและเร็วที่สุดถึง 3.33 Ghz แล้ว ยังแปะป้าย Extreme Edition มาให้อีกด้วยซึ่งหมายความว่าได้รับการปลดล็อคตัวคูณมาแล้วนั่นเอง ซึ่งทำให้การโอเวอร์คล็อกเป็นไปได้ง่ายขึ้นอีกมาก และสำหรับในส่วนของ Turbo Boost (โปรดดูภาพล่างประกอบ) จะเห็นได้ว่าถ้ามีการใช้งานซีพียูในหลายๆ แกนแล้ว ระบบจะเร่งความเร็วซีพียูไปที่ 3.46 GHz (+133MHz) แต่ถ้ามีการใช้งานเพียงแกนเดียวแล้วล่ะก็จะเร่งความเร็วไปเป็นถึงกว่า 3.6 GHz (+266 MHz) ด้วยกัน! ซึ่งก็เหลือเฟือแล้วกับการใช้งานครับ
สำหรับท่านที่สงสัยว่าซีพียู 2/4 แกนที่บ้านยังใช้ไม่ค่อยคุ้มเลย แล้วนี่ 6 แกนจะเอาไปทำอะไรกันน้า? ทาง Intel ได้คลายความสงสัยอันนี้โดนการแถมรายชื่อโปรแกรม/เกม ที่รองรับการใช้งานซีพียูมากกว่า 4 แกนมาให้ด้วยครับ ตามสองภาพบน
สุดท้ายกับระบบระบายความร้อนที่แถมมาให้ด้วยครับโดยทาง Intel ได้ลงทุนปรับแต่งมาเพื่อให้เหมาะสมกับซีพียูตัวนี้เป็นการเฉพาะเลยทีเดียว ซึ่งจากภาพด้านบนนั้นก็น่าจะพอทราบว่าได้รับการออกแบบมาเพื่อการโอเวอร์คล็อกด้วย ส่วนความเร็วรอบของพัดลมนั้นในขณะ Idle จะอยู่ที่ 800 รอบต่อนาที (RPM) ทีความดัง 20 เดซิเบล และในขณะ Full Load จะอยู่ที่ 1800 รอบต่อนาที ที่ความดัง 35 เดซิเบล
Gallery
เมื่อมาดูที่ด้านบนของฮีทซิงก์นั้นจะเห็นได้ว่ามีสวิทช์ให้เลือกระหว่าง Q และ P โดย Q นั้นจะให้พัดลมทำการปรับความเร็วรอบโดยอัตโนมัติตามสภาพการใช้งานซีพียู ยิ่งถ้าใช้งานหนักมาก เกิดความร้อนสูง พัดลมจะหมุนเร็วขึ้น แต่ถ้าอยู่ในสภาวะ Idle ความเร็วรอบพัดลมก็จะน้อยตาม ส่วน P นั้นจะเป็นการตั้งให้พัดลมหมุนที่ความเร็วสูงสุดตลอดเวลาครับ
ด้านใต้ครับ จะเห็นได้ว่ามีฮีทไปป์มาให้ 8 ท่อด้วยกัน และจะเห็นรูยึดสี่ด้านที่ติดตั้งเข้ากับตัวซ็อกเก็ตได้ง่ายมากๆ เพียงแค่ใช้ไขควงหมุนๆ เอง
ขอบคุณครับ ท๊อป
ในตอนที่ทาง Intel ส่งกล่องซีพียูตัวดังกล่าวมากองอยู่บนโต๊ะทำงานนั้น ผมแทบจะระงับความตื่นเต้นไว้ไม่อยู่ เพราะว่าถ้าท่านผู้อ่านท่านใดได้อ่านบทความปอกเปลือกทิศทางซีพียูของปีนี้และปีหน้าของผมแล้วก็น่าจะพอทราบว่าภายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2010 นี้ ทั้ง Intel และ AMD กำลังจ้องจะออกซีพียูแบบ 6 แกนสำหรับผู้บริโภคมาแข่งกันดูดเงินในกระเป๋าของเรา ยิ่งเมื่อช่วงเดือนสองเดือนก่อนหน้านี้ได้มีข่าวแว่วๆ ออกมาแล้วว่า Intel กำลังเตรียมตัวออกวางจำหน่ายซีพียูแบบ 6 แกนภายใต้ชื่อ Core i7-980X ยิ่งเลยทำให้ขาฮาร์ดแวร์กระเป๋าหนักทั้งหลายนับวันนับคืนรอวันที่ซีพียูตัวนี้จะวางจำหน่าย และในขณะนี้ผม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมงาน i3 ได้รับซีพียูตัวนี้แบบเป็นๆ มาทดสอบความแรงกันแล้ว แต่ก่อนที่ผมจะนำพาท่านผู้อ่านไปพบกับผลการทดสอบซีพียูตัวดังกล่าว ผมขอแนะนำให้รู้จักกับคุณสมบัติคร่าวๆ ของซีพียูตัวนี้กันก่อนครับ
Features & Benefit
Gallery
ด้านหน้าของซีพียู
ด้านหลัง
ฮีทซิงก์และพัดลมระบายความร้อนที่แถมมาให้ด้วยครับ ภายใต้ชื่อ Intel DBX-B Thermal Solution
ขอบคุณครับ ท๊อป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น